ลักษณะสำคัญของเห็ดนางฟ้า

เห็ดนางฟ้า
เห็ด จัดเป็นพืชจำพวกเชื้อรา (Fungi) ในอดีตคนมักจะมองและคิดถึงเห็ดในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย ลึกลับและน่ากลัวเป็นสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ ไม่มีคลอโรฟีล สังเคราะห์แสงเองไม่ได้ อาศัยอาหารจากอินทรีย์วัตถุเช่นซากพืช หรือสิ่งมีชีวิตอื่น การเจริญเติบโตของเห็ดเริ่มจากสปอร์ (Spore) ที่อยู่บริเวณครีบดอกปลิวไปตกบนบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม สปอร์ก็จะเจริญเป็นเส้นใย เส้นใยเหล่านี้จะรวมตัวกันมากขึ้นและเจริญพัฒนาเป็นกลุ่มก้อน เกิดเป็นดอกเห็ดบนพื้นดิน บนต้นไม้ ขอนไม้ ซากพืช มูลสัตว์ ฯลฯ

เห็ดนางฟ้า..มีประโยชน์อย่างไร

เห็ดนางฟ้า
    
เห็ดนางฟ้า

ชื่อเรียกทั่วไป : เห็ดนางฟ้า , เห็ดแขก 
ชื่อสามัญ : Sarjor-caju Mushroom 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pleurotus sajor-caju(Fr.) Sing.
    

ถิ่นกำเนิดของเห็ดนางฟ้า จะอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ประเทศอินเดีย 
สรรพคุณทางยา : ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด 
การนำไปใช้ประโยชน์ : ทำแหนมเห็ด , เห็ดชุบแป้งทอด , ต้มยำเห็ด ฯลฯ 

คุณค่าทางอาหารของเห็ดนางฟ้า (100กรัม)
ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี่ (โปรตีน2.3กรัม , ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม)
    
ข้อดีของเห็ดนางฟ้า  
มีรสชาติดี รสชาติอร่อย 
ถ้านำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นหอมน่ากินมาก 
สามารถเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นได้นาน 
สามารถเก็บรักษาโดยการตากแห้งไว้ เมื่อจะนำมาปรุงอาหารก็เพียงนำเห็ดนางฟ้าไปแช่น้ำ เห็ดก็จะคืนรูปเอง
    
ลักษณะโดยทั่วไปของเห็ดนางฟ้า 
เห็ดนางฟ้ามักจะพบตามธรรมชาติบริเวณตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู บริเวณเชิงเขาหิมาลัย มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ แต่จะมีสีอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ดอกเห็ดนางฟ้าจะมีขนาดตั้งแต่ 5-14 เซ็นติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30-120 กรัม  และนอกจากนี้ยังมีเห็ดนางฟ้าอีกสายพันธุ์หนึ่ง คือ เห็ดนางฟ้าภูฐาน ที่เรียกชื่อเช่นนี้เพราะเป็นเห็ดที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศภูฐาน ซื่งก็จะสามารถแยกออกได้อีกหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะชอบฤดูกาลที่ต่างกัน (บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน บ้างพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว)